สะพานพระราม ๘ : Rama VIII Bridge, Bangkok, Thailand

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_6796.jpg

Rama VIII Bridge

มาแล้วยังดีกว่ามาช้า
มาช้ายังดีกว่าไม่มา

ขอร่วมกิจกรรมด้วยคนค่ะ
มัวแต่ว่าจะ..ว่าจะ ไม่ได้เขียนสักที
ไม่รู้จะหมดเขตวันไหน แต่วันนี้ขอร่วมประกวดด้วยค่ะ
กับกิจกรรมของทีมงานน่ารักๆ @thaiteam
ในหัวข้อ Architecture Photography Contest Thai Community
การประกวดภาพถ่ายสถาปัตยกรรม
โดยให้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับภาพถ่ายอย่างน้อยที่สุด 10 บรรทัด
(ไม่นับรวมอิโมจิ) แล้วติดแท็ก #thaiphotocontest8

รูปที่ไปเปิดกรุขุดมาส่งประกวดชุดนี้
ถ้าจำไม่ผิดถ่ายจากกล้องมือถือค่ะ

บันทึกภาพไว้คราวที่ไปวิ่งมินิมาราธอนบนสะพานพระรามแปดเมื่อหลายปีก่อน

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_6785.jpg

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_678b.jpg

สำหรับเราผู้ไม่สันทัดการวิ่งเพราะเป็นผู้มีมวลหนักและเยอะ
ตัดสินใจลงวิ่งครั้งนั้น(จำชื่องานวิ่งก็ไม่ได้) เพราะได้แรงใจมาจากตอนเด็กๆ
ที่เคยดูการวิ่งเปิดสะพานพระรามเก้า ตอนนั้นน่าจะเป็นช่องเจ็ดสีมาราธอนกระมังคะ
มีเพลงที่ลงท้ายว่า ...กีฬา ชิงแช้มป์เจ็ดสี...
แหม..อยากจะเล่าแต่ความทรงจำก็แหว่งวิ่นเสียเหลือเกิน
สรุปว่า อยากวิ่งบนสะพานค่ะ เป็นความฝันตั้งแต่เด็กๆ

ในที่สุดก็ได้ไปกลิ้ง เอ๊ย..วิ่งขึ้นสะพานกับเขาค่ะ
งานนั้นฉายเดียว ไปคนเดียว วิ่งคนเดียว เพราะเดี๋ยวตามเพื่อนไม่ทัน
จะบอกว่าวิ่ง จริงๆก็ไม่ถูกต้องนัก ออกจะเป็นแนวเดินเร็วมากกว่าค่ะ
สามร้อยเมตรแรกจากจุดปล่อยตัว เราวิ่งเหยาะๆ พอเริ่มขึ้นเนินขึ้นสะพานก็เริ่มลดสปีด
ใช้เกียร์ต่ำระดับตะกายขึ้นภูกระดึงค่ะ
ตอนออกตัว ก็ไปกลุ่มกลางๆ แต่พอไปสักพัก เริ่มห้อยท้าย
แอบปลอบใจตัวเองว่าเราแวะถ่ายรูปเลยช้าหน่อย
ช้าไม่มากนะคะ แค่นักวิ่งรุ่นอาสุโส เจ็ดสิบ จะแปดสิบปี เขาแซงเราหมดน่ะค่ะ
เดินตามคุณยายไม่ทัน อายมากๆ

อารัมภบทเสียยาว แทบจะลืมแล้วค่ะว่าต้องเขียนเกี่ยวกับรูป
“สะพานพระราม 8” สำหรับเราแล้วคือสะพานอนุสรณ์แห่งความรัก "สามความรัก”
หนึ่ง..ความรักของลูกชายผู้กตัญญูต่อมารดา
สอง..ความรักของพระมหากษัตริย์ต่อปวงชนชาวไทย
สาม..ความรักของน้องชายต่อพี่ชาย

เดาได้ไม่ยากใช่ไหมคะว่าเหตุใดเราถึงให้ความหมายของสะพานพระราม 8 ว่าสะพานอนุสรณ์แห่งความรัก

การก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เป็นพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จเยี่ยมสมเด็จย่าที่ประชวรอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของพวกเราท่านทรงทอดพระเนตรเห็นปัญหาการจราจรระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีที่แอดอัดกันบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 จึงโปรดเกล้าฯให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกหนึ่งแห่ง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ โดยสะพานมีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน เขตบางพลัด ฝั่งธนบุรี ไปบรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร ฝั่งกรุงเทพมหานคร

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_6786.jpg

เราสัมผัสถึงความรักขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่มีต่อสมเด็จย่าและในหลวงรัชกาลที่ 8 จากการเชื่อมต่อของทางลอยฟ้าเข้ากับสะพานพระรามแปด เราอดคิดไม่ได้ว่าพระองค์จะทรงทุกข์โทมนัสเพียงใดในห้วงเวลานั้น เมื่อสมเด็จย่าเสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ 18 กรกฎาคม 2538 เพียงสามวันหลังจากที่ทรงโปรดเกล้าฯให้กรุงเทพมหานครสร้างสะพานพระราม 8


รูปภาพ จากwww.pantip.com

สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว คือมีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรีและมีเสารับน้ำหนักอีกหนึ่งต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและไม่ทำลายระบบนิเวศวิทยาในแม่น้ำ รวมถึงไม่กระทบต่อการจัดขบวนเรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เปิดให้ใช้สะพานตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2545 เวลา 07.00 น.

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_6795.jpg

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_6791.jpg

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_679a.jpg

รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการสร้างสะพานพระราม 8

"คนดีของฉันรึ จะต้องเป็นคนไม่พูดปด ไม่สอพลอ ไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกง และไม่มีความทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ แต่พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดี ในขอบเขตของศีลธรรม"

พระราชดำรัสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระราชจริยวัตรและพระราชอัธยาศัยของสมเด็จย่า

พระราชประวัติ สมเด็จย่า

ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะคะ
ทุกคอมเม้นท์คือแรงใจค่ะ

28 พฤษภาคม 2561
Authored by : @iceplease

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_679f.jpg

UNADJUSTEDNONRAW_thumb_67a1.jpg

H2
H3
H4
3 columns
2 columns
1 column
Join the conversation now
Logo
Center