อาลัยกับการจากไป "สตีเฟน ฮอว์คิง"

_100410466_91ced691-a51e-4238-8372-bec07e9f5ea9.jpg
เครดิตภาพ: สำนักข่าว BBC

ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในวงการวิทยาศาสตร์ เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยวัย 76 ปี เมื่อวันพุธที่ 14 มีนาคม 2561 ที่บ้านพักใกล้มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในประเทศอังกฤษ หลังต้องต่อสู้กับโรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม (Motor Neurone Disease-MND ) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมาเกือบชั่วชีวิต

ฮอว์คิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science)
ด้วยการที่เขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวมในลักษณะที่คนทั่วไปเข้าใจได้ โดยมีผลงานเขียนหนังสือยอดนิยมอย่าง

  • ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time)
  • จักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell)

ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์

ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญ

Hawking-radiation.jpg
เครดิตภาพ: https://www.researchgate.net
มีการบัญญัติทฤษฎีในบทเกี่ยวกับ ภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง ในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับ โรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีว่า หลุมดำควรปล่อยรังสีจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "การแผ่รังสีฮอว์คิง" (Hawking Radiation) ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์คิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์คิง)

อัฉริยะ ผู้ทุพพลภาพ

ฮอว์คิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก
โรคเริ่มอย่างรวดเร็ว แต่อาการดำเนินไปอย่างช้าๆ ทำให้เขากล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อยๆ เป็นเวลาหลายสิบปี และต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม แม้แพทย์จะบอกกับ ศ.ฮอว์คิง ในปี 1964 ขณะที่กำลังเตรียมเข้าพิธีแต่งงานกับเจน ฮอว์คิง ภรรยาคนแรกว่า เขาจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 ปีเท่านั้น แต่ในภายหลังปรากฏว่าเขามีอาการทรุดลงช้ากว่าที่คาดมาก ศ.ฮอว์คิงและภรรยามีลูกด้วยกันถึง 3 คน อาจกล่าวได้ว่า ศ. ฮอว์คิง ต้องใช้ชีวิตในฐานะผู้ทุพพลภาพเกือบทั้งชีวิต

"ผมป่วยมาเกือบตลอดช่วงชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ แต่ผมก็ยังสามารถมีครอบครัวที่สวยงามและประสบความสำเร็จในการงานได้ นั่นแสดงให้เห็นว่า คนเราต้องไม่สิ้นหวัง" สตีเฟน ฮอว์คิง

ส่วนตัวผม คงได้แต่กล่าวคำไว้อาลัยให้กับท่านว่า
"การมีชีวิตอยู่ของลุงมันคูลมากครับ อุปสรรคด้านกายภาพไม่ได้บั่นทอนพลังสมองเลยจริงๆ และขอขอบคุณสำหรับมรดกอันยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์"

เกร็ดเล็กน้อย
Stephen Hawking

  • เกิดในวันครบรอบ 300 ปีการเสียชีวิตของกาลิเลโอ (8 มกราคม)
  • เสียชีวิตในวันคล้ายวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (14 มีนาคม)
    ความบังเอิญของอัจฉริยะ

ปลาสร้อยไร้นาม,

H2
H3
H4
3 columns
2 columns
1 column
Join the conversation now